Fat Fesアート部門の出し物キャプション

LINEで送る

こちらのエントリーより怒涛の全文掲載。4日までに訳せば日本語キャプションもつくってくれるらしいのですが、だれかやりませんか?
http://bangkokok.typepad.com/duckunit/2008/11/fat-festival-8-artcreative-showcase.html
10 ปากว่า ไม่เท่าตาเห็น
: 10 ชิ้นงานครีเอทีฟโชว์เคสที่ใครๆ ก็ว่า ต้องไปเห็นและต้องไปเล่น ในงานแฟต เฟสติวัลครั้งที่ 8
ความ สำเร็จของสิ่งที่เรียกว่า ‘ครีเอทีฟ โชว์เคส’ ที่จัดขึ้นครั้งแรกในงานแฟต เฟสติวัลครั้งที่ 7 เมื่อปี 2550 มักจะถูกตีพิมพ์ตามหนังสือนิตยสารในหัวข้อ ‘ความแปลกใหม่ของงานครั้งนี้’ หรือ ‘จุดถ่ายรูปสวยงามประจำปี’ แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่มันไม่ค่อยถูกตีพิมพ์บ่อยนักคือหัวข้อ ‘อาหารเสริมด้านความคิดสร้างสรรค์’ อันเป็นเบื้องหลังความคิดของวิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ในการจัดงานนี้ขึ้นมาแทรกตัวในงานแฟต และ หวังว่ามันจะทำให้เด็กวัยรุ่นและเด็กวัยชราทุกคนไม่รู้เนื้อรู้ตัวว่า พวกเขากำลังเสพงานศิลปะอันที่พวกเขาขยาดแขยงคิดว่าเป็นของยากมาโดยตลอด
แต่ ความตั้งใจดีจะออกดอกออกผลได้ ต้องอาศัยความต่อเนื่องเป็นส่วนประกอบ ครีเอทีพ โชว์เคสจึงกลับมาดักซุ่มตามจุดต่างๆของแฟต เฟสติวัลในปี 2551 นี้ และในครั้งนี้มีการอิมพอร์ตความคิดสร้างสรรค์จากเมืองนอกมาให้ได้เสพกันขนาน ใหญ่ แถมงานแต่ละชิ้นก็รับประกันได้ว่าเป็นมิตรกับชุมชนมาก เพราะทุกคนที่มาเห็นงานครั้งนี้ จะต้องเล่นและกระโดดโลดเต้นไปกับมัน(ในความหมายตรงตัว)ได้มากกว่าครั้งที่ แล้ว 2 เท่า
เพราะ เมวะ เด็นกิ กลุ่ม ศิลปินจากญี่ปุ่นที่จะขนสิ่งประดิษฐ์หลุดโลกและเครื่องดนตรีปัญญาอ่อนของพวก เขามาให้ชาวไทยได้ยืนงงกันว่า ‘นี่มันอะไรเนี่ย’ แต่การชื่นชมของติ๊งต๊องเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์ จำเป็นต้องดูโชว์การแสดงดนตรีสดของพวกเขาด้วย ซึ่งก็เล่นด้วยอุปกรณ์ติงต๊องเหล่านั้นนั่นล่ะ นี่เรียกได้ว่า เสพงานศิลป์ไปด้วย ได้โดดโยกไปด้วย
ส่วนโปรเจคท์ Pika Pika ของ กลุ่ม Tochka จากญี่ปุ่น ก็จะได้มาวาดลวดวาดลายอย่างหลุดลุ่ยรุ่มร่ามและเร่าร้อนในประเทศไทยเป็น ครั้งแรก ผลงานของพวกเขาคือการทำให้ภาพนิ่งของเส้นสายที่เกิดจากการถ่ายรูปแบบสปีดต่ำ มีชีวิตและเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นแอนิเมชั่น แต่นั่นไม่ใช่จุดประสงค์สูงสุดของโปรเจคท์นี้ เพราะคำว่า ‘ความสุขของชุมชน’ คือสิ่งที่ทำให้ Pika Pika ถือกำเนิดขึ้น ดังนั้น พวกเขาจึงเปิดบูทไว้ให้ใครที่เดินผ่านไปมา ได้ร่วมสร้างแอนิเมชั่นแบบ Pika Pika ด้วยกัน
อีกห้องหนึ่งที่น่าจะตอบสนองตัณหาของคนเดินงานแฟตได้อย่างดีคือ P.O.P Station หรือ ค่ายเพลงอัตโนมัติ โดย มีผู้บริหารที่ชื่อกลุ่มศิลปิน KYTV จากสิงคโปร์จับมือเซ็นสัญญากับกลุ่ม B.O.R.E.D ประเทศไทย ค่ายนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเนรมิตให้ทุกคนที่มีเงินจ่ายให้พวกเขาสามารถกลาย เป็นนักร้องเต็มรูปแบบ ชนิดที่ มีซีดี วีซีดี และ เอ็มวีเป็นของตัวเองภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าใครได้เข้าเดินสายพานงานผลิตของโรงงานปั้นนักร้องแห่งนี้คงได้เรียนรู้ นิยามของ ‘ชื่อเสียง’ กันใหม่อีกครั้งภายใน 24 ชั่วโมงเช่นกัน
ส่วนงานอื่นๆ ภายในงานครั้งนี้ล้วนเป็นงานที่ต่อยอดไอเดียหรือพัฒนาต่อจากงานครั้งที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Overhead Nightclub 2.0 ที่ ยกเมืองจำลองพร้อมด้วยก๊อดซิลล่าและอุลตร้าแมนเข้าไปไว้ในกล่องให้เราได้มุด หัวเข้าไปสอดรู้ สอดดูและสอดฟังอีกครั้ง , Exjample ที่กลายพันธุ์มาเป็น HESHEIT chronicles โดย จะเอาต้นฉบับการ์ตูนของวิศุทธิ์ พรนิมิต ทั้งหมดมาแปะบนบอร์ดขนาดใหญ่ให้เห็นเบื้องหลังความสำเร็จของวิศุทธิ์ มันต้องใช้ความพยายามขนาดใหญ่แค่ไหน , ดอยและไดโนเสาร์ สอง แลนด์มาร์คจากงานแฟต เฟสติวัลที่เชียงใหม่และขอนแก่น ถูกเชิญมาเป็นตัวแทนจังหวัดเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่และกรุงเทพฯ-ขอนแก่น , ตลาดมืด ที่มา โผล่กลางฮอลล์อันสว่างจ้าอย่างไม่ต้องลักลอบ เพราะข้างในขายของถูกกฎหมายแถมเรืองแสงได้ด้วย และสุดท้ายกับการเปิดพื้นที่อิสระให้ศิลปินรุ่นใหม่อย่าง SuperNormal กลุ่ม ศิลปินที่เป็นคนประกอบและติดตั้งงานชิ้นต่างๆในครั้งที่แล้วเกิดอยากทำงาน กับแบบพี่ๆ บ้าง ครั้งนี้เลยจัดให้เขาได้ติดตั้งงานตัวเองเสียเลย
เมื่อ ได้เห็นรายชื่อของงานแต่ละชิ้นคร่าวๆ แล้ว ก็ถือว่างานครีเอทีฟ โชว์เคสในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นงานชุมชนสัมพันธ์อย่างแท้จริง หลายต่อหลายงานเปิดโอกาสให้คนดูมีส่วนร่วมและรวมร่างเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ งานชิ้นนั้น พร้อมกับปล่อยให้คนดูได้ค่อยๆ เรียนรู้และซึมซับคอนเซปต์ต่างๆของงานชิ้นนั้นไปด้วยตัวเอง แม้อาจมีบางคนที่มองงานชุดนี้แล้วรู้สึกว่า นี่ไม่ใช่งานศิลปะ แต่นิยามความหมายของมันจะสำคัญตรงไหน หากสิ่งนั้นมันก่อให้เกิดความสุขระหว่างเสพ และเกิดแรงขับเคลื่อนให้กับคนๆหนึ่งในการรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาในอนาคตข้างหน้า
MAYWA DENKI
: เทคโนโลยีที่ก้าวหลัง
Maywa Denki
บริษัท เมวะ เด็นกิ จำกัด คือ โรงงานผลิตสินค้า… ที่ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าสินค้าประเภทไหนเหมือนกัน เราก็รอให้คุณช่วยเราจำกัดความสิ่งเหล่านี้หน่อยว่ามันควรจะเรียกว่าอะไร
เครื่องปล่อยลูกแอปเปิ้ล
เครื่องทำให้เสียงสั่น
เครื่องตีกบาลเมื่อเล่นตลกคาเฟ่
เครื่องทำหน้าโกรธ
…อืม
มา ซามิจิ โทสะ และ โนบุมิจิ โทสะ สองพี่น้องประธานกรรมการบริษัทเมวะ เด็นกิ จำกัด เรียกสินค้าเหล่านี้ว่า ‘เครื่องจักรปัญญาอ่อน’ สินค้าของพวกเขาไม่ได้หวังผลทางการตลาด แต่หวังผลทางการตลก เพราะจุดประสงค์หลักของการผลิตเครื่องต๊องๆเหล่านี้ออกมาก็แค่อยากจะเห็นปฎิ กิริยาจากผู้คนยามต้องเผชิญหน้ากับความปัญญาอ่อนเหล่านี้ว่ามันจะเป็นอย่าง ไร
‘คอนเซปต์งานของเรามันเหมือนกับ ปลาหมึกบด น่ะครับ คือ กินคำแรกน่ะไม่ค่อยอะไร แต่ถ้าเคี้ยวเมื่อไรนี่มันมาก’
ราก ฐานวัยเด็กของพี่น้องสองคนนี้เริ่มต้นจากการเติบโตในโรงงานหลอดสุญญากาศนาม บริษัท เมวะ เด็นกิ จำกัดซึ่งมีพ่อของพวกเขาเป็นเจ้าของ และนี่อาจเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาต้องมาวนเวียนเกี่ยวข้องกับ กลไกเครื่องจักรต่างๆ แต่ในปี 1979 บริษัทก็ต้องปิดกิจการลงเนื่องจาทนพิษวิกฤติน้ำมันไม่ไหว จากนั้น โนบุมิจิประธานผู้น้องได้ไปเรียนศิลปะในมหาวิทยาลัย และที่นั่นเองคือจุดเริ่มของสินค้าชุดแรกที่ชื่อว่า Naki งานทุกชิ้นในชุดนี้วนเวียนเกี่ยวข้องกับปลา เพราะเขามักฝันร้ายถึงปลาในตอนเด็ก โนบุมิจิเลยใช้นโยบาย ‘แพ้กุ้ง ต้องกินกุ้ง’ ทำงานออกมาเป็นปลาๆให้หมดเพื่อทำการศึกษาสภาวะภายในจิตใจของตัวเองไปในตัว สุดท้าย เขานำฝูงปลาของเขาออกมาแสดงในงานนิทรรศการที่เขาเนรมิตบรรยากาศในงานให้คนงง ว่านี่มันแกลอรี่ หรือ แผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า (วะ)
และ คงเป็นเพราะนิทรรศการปลาในวันนั้นประสบความสำเร็จ ในปี 1993 โนบุมิจิเลยจับมือกับพี่ชาย มาซามิจิ ปลุกชีพบริษัท เมวะ เด็นกิ จำกัดขึ้นมาอีกครั้งเพื่อเปิดธุรกิจจินตนาการของสองพี่น้องตระกูลโทสะ โดยวางเป้าจะชิงส่วนแบ่งทางความฉลาดของผู้คนให้ได้มาเจอกับความประสาทของพวก เขาเสียบ้าง
ความ บ้าคลั่งยังคงดำเนินต่อไปอย่างน่าสะพรึง เมื่อวันหนึ่งมาซามิจิซื้อซินธีไซเซอร์ หรือ เครื่องทำดนตรีสังเคราะห์กลับมาบ้าน ทำให้โนบุมิจิเกิดอาการฟื้นธาตุวิชาด้านการดนตรีขึ้นมาอีกครั้ง เพราะสมัยเรียนเขาเคยเล่นเครื่องเคาะในวงโยธวาทิตโรงเรียน แถมไปแจมกับวงดนตรีแจ๊ซอยู่บ่อยๆ ความบ้าบอจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อดนตรีแนวคอมๆตื้ดๆ มาเจอกับนักประดิษฐ์เครื่องใช้ไฟฟ้าปัญญาอ่อน
Tsukuba คือซีรีย์สถัดมา พวกเขาถึงขั้นลงมือสร้างเครื่องดนตรีพันธุ์ประหลาดที่มีพวกเขาเองเล่นได้ อยู่คนเดียว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นกีตาร์ครั้งละ 6 ตัวพร้อมกัน , เบสแบบใช้ปุ่มกด , กองทัพหุ่นยนต์เล่นดนตรีอัตโนมัติ นี่ยังไม่รวมพวกหุ่นยนต์หางเครื่อง (ใครก็ได้หยุดพวกพี่เขาที) แต่จุดร่วมของเครื่องดนตรีบ้าๆเหล่านี้คือ การใช้มอเตอร์หรือกลไกไฟฟ้าทำให้เกิดเสียงดนตรีแบบรูปธรรม (เสียงดนตรีที่เกิดจากการเคาะจริงๆ ดีดจริงๆ) อีกที และที่ตลกคือ พวกเขากลับละทิ้งพวกอุปกรณ์สร้างดนตรีสังเคราะห์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นไอเดีย ของสินค้าชุดนี้โดยสิ้นเชิง
‘เรา รู้สึกว่าอุปกรณ์อย่างไอพอดหรือซินธีไซเซอร์มันให้ดนตรีเชิงข้อมูลกับเรา คือ เดี๋ยวนี้คนเราฟังเพลงจากลำโพงกันหมดแล้ว และถ้าสังเกตดีๆ คนฟังและทำดนตรีสมัยนี้เนี่ยจะชอบพูดอวดกันว่า ‘เพลงซาวนด์ประหลาดแบบนี้น่ะชอบ’ , ‘เพลงแบบนี้เราก็ remix ในคอมได้’ , ‘เรามีไฟล์เพลงเพียบเลย’ แต่ส่วนตัวพวกเราสนใจดนตรีที่เกิดจากการกระทบกันของวัตถุจริงๆมากกว่า เพราะฉะนั้นในขณะที่ทุกคนใช้เทคโนโลยีสร้างดนตรีแปลกๆใหม่ๆ พวกเรากลับใช้เทคโนโลยีมาสร้างการกระทบของวัตถุให้เกิดดนตรีแปลกใหม่’
เมื่อ สินค้าด้านการดนตรีของบริษัท เมวะ เด็นกิ จำกัด ปัญญาอ่อนกันขนาดนี้แล้ว ทั้งสองจึงเกิดไอเดียจัด ‘สาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์’อันเป็นเจ้าของความหมายเดียวกันกับ ‘คอนเสิร์ต’ ทั้งสองเริ่มออกทำการแสดงง่ายๆในปี 1993 โดยตอนแรกแต่ละคนก็มีเครื่องดนตรีกันคนละชิ้นที่ยังไม่ซับซ้อนอะไรมาก แต่เวลาผ่านไป ความอลังการฟุ้งซ่านก็มากขึ้นเรื่อยๆ จากเครื่องดนตรี 2 ชิ้น ก็กลายเป็น 8 ชิ้น (เพิ่มแบบก้าวกระโดดมาก) แถมเพิ่มนักดนตรีเพิ่มอีกคน จากนั้นมันก็เกิดการแตกตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนคอนเสิร์ตครั้งใหญ่เมื่อปี 2002 นั้น วงของพวกเขามีเครื่องดนตรีและสัตว์ประหลาดอีกสองสามตัวรวมทั้งสิ้น 18 ชิ้นเลยทีเดียว
หลัง จากนั้นในปี 2001 มาซามิจิ ประธานผู้พี่ของบริษัทได้อำลาวงการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วอย่างไร้เหตุผล ( โนบุมิจิกล่าวว่า ‘พี่ชายผมมันเป็นพวกคาดเดาอะไรไม่ได้ครับ’) บริษัทนี้จึงต้องดำเนินการโดยโนบุมิจิคนเดียวต่อไปพร้อมกับเด็กโรงงานอีก จำนวนหนึ่ง งานชุดต่อมาแบบโซโล่คนเดียวของโนบุมิจิคือชื่อชุด Edelweiss ว่าด้วยการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ‘แก่นสารแห่งความเป็นหญิง’ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยีน รังไข่ ความเป็นแม่ แฟชั่น และความรัก โดยสื่อผ่านออกมาทางงานที่ได้แรงบันดาลใจจากดอกไม้และหน้ากากผู้หญิงที่ชื่อ ซาวาโอะ
และเมื่อถามถึงแผนการในอนาคตของบริษัทว่าพี่จะทำอะไรกันอีกเนี่ย โนบุมิจิกล่าวว่า
‘ผมอยากจะสร้างอาณาจักร เมวะ เด็นกิ ขึ้นมาให้ได้ และอีกอย่างคือ ผมอยากจะประดิษฐ์ตัวผมเองขึ้นมาใหม่ดู’
…อืม
ดู เผินๆแล้ว บริษัท เมวะ เด็นกิ จำกัด จะเป็นชาวเนิร์ดๆ บ้าอุปกรณ์และเทคโนโลยีประหลาด แต่เอาเข้าจริงแล้ว พวกเขานี่ล่ะคือนักปฎิเสธเทคโนโลยีตัวจริง สินค้าและสิ่งที่พวกเขาประดิษฐ์ขึ้นมาล้วนไม่ได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้ากับ มวลมนุษยชาติ แถมแทบจะปฎิเสธความเป็นดิจิตอลทิ้งไปและกลับสู่ความเป็นอะนาล็อกแบบสมัยก่อน เกือบทั้งหมด
แต่ ยิ่งเครื่องมือแต่ละอย่างของพวกเขานำชีวิตพวกเราสู่ความ‘ก้าวหลัง’มากขึ้น เท่าไร นั่นก็ทำให้เราได้ฉุกคิดและทวบทวนถึงความหมายของ ‘เทคโนโลยี’ มากขึ้นเท่านั้น
อุปกรณ์เมวะ
Pachi-Moku : อุปกรณ์ดนตรีติดปีกสะพายหลังน้ำหนัก 10 กิโลกรัม วิธีการเล่นคือกดปุ่มที่แผงควบคุมแล้ว เครื่องเคาะป๊อกๆที่ปลายปีกจะทำงาน เครื่องดนตรีสร้างเสียงได้เพียงแค่สองเสียงคือ เสียงโทนสูง กับ เสียงโทนต่ำ จบ
Koi-beat : เครื่องสร้างจังหวะรูปทรงปลาคาร์ฟ โดยคีย์คำสั่งโทนเสียงและจังหวะเข้าไปด้วยปุ่มต่างๆที่มีให้เลือกก่อนแล้ว เล่นทั้งหมดด้วยการหมุนจานด้านข้าง 1 รอบ
Taratter : รองเท้าเต้นแท็ปสำหรับคนเต้นแท็ปไม่เป็น เวลาจะเต้นก็ไม่จำเป็นต้องขยับขา เพราะใช้กดปุ่มเอาจากมือ ทางเมวะ เด็นกิ ยืนยันว่าจะรองเท้านี้ได้รับการออกแบบการสั่นสะเทือนเท้ามาเป็นอย่างดี นักดนตรีจะได้ไม่ต้องไปเข้าร้านนวดฝ่าเท้า หลังขึ้นคอนเสิร์ต
Voice vibrator : เครื่องเปลี่ยนเสียงที่เหมาะสำหรับนักร้องเสียงห่วย เพียงแค่เปิดมอเตอร์ที่อยู่บริเวณหน้าอก มอเตอร์ก็จะสั่นจนเสียงร้องของเราสั่นจนสามารถสร้างเสียงลูกคอ 3 ชั้นได้เทียบเท่ามนต์สิทธิ์ คำสร้อย และ จินตรา พูลลาภ
Takedamaru : แตรลมทรงแซ็กโซโฟน สามารถสร้างเสียงได้ 6 สเกล และมีไฟแว๊บๆวิ้งๆทุกครั้งที่เป่า
On-Geng : กล่องกลอง ซึ่งทำหน้าเป็นดรัมแมชชีน คอยเคาะจังหวะแบบอัตโนมัติ แถมเลือกแบบเสียงได้หลายแบบ ตามแต่ละเวอร์ชั่นของกล่องนั้น
Guitar-la slim (for night) : เครื่องดนตรีพันธุ์ผสมระหว่างออแกน และ กีตาร์ ที่ไม่รู้จะผสมให้เล่นยากขึ้นทำไม
Punch kun / Renda chan : หุ่นยนต์หางเครื่อง ที่เต้นได้ท่าเดียวคือท่าชกลม ทางบริษัทอ้างว่า เสียงชกลมของหุ่นสองตัวนี้สามารถบรรเทาความเครียดได้
ELT ( Electric Lighting Tools) : ป้ายไฟบรรจุหางเครื่องอีกตัวเอาไว้
Deka-Savao : ห&#3

Fat Fesアート部門の出し物キャプション」への1件のフィードバック

コメントを残す

メールアドレスが公開されることはありません。 * が付いている欄は必須項目です

CAPTCHA